วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



หนังตะลุง



          หนังตะลุง   คือ  ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้   เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรอง ที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชมซึ่งการว่าบท         การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด



                                        1.)ประวัติหนังตะลุง

    นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงาจำพวกหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายมาทั้งในแถบประเทศยุโรป และเอเชีย โดยอ้างว่ามีหลักฐานปรากฏอยู่ว่า เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชัยชนะเหนืออียิปต์ ได้จัดให้มีการแสดงหนัง(หรือการละเล่นที่คล้ายกัน)เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะและประกาศเกียรติคุณของพระองค์ และเชื่อว่า มหรสพการแสดงเงานี้มีแพร่หลายในประเทศอียิปต์มาแต่ก่อนพุทธกาล                                                                    >> ประเทศอินเดีย พวกพราหมณ์แสดงหนังที่เรียกกันว่า ฉายานาฏกะ เรื่องมหากาพย์รามายณะ เพื่อบูชาเทพเจ้าและสดุดีวีรบุรุษ
>> ส่วนในประเทศจีน มีการแสดงหนังสดุดีคุณธรรมความดีของสนมเอกแห่งจักรพรรดิ์ยวนตี่ (พ.ศ. 411 - 495) เมื่อพระนางวายชนม์
 >>  ในสมัยต่อมา การแสดงหนังได้แพร่หลายเข้าสู่ในเอเชียอาคเนย์ เขมร พม่า ชวา มาเลเซีย และประเทศไทย คาดกันว่า หนังใหญ่คงเกิดขึ้นก่อนหนังตะลุง และประเทศแถบนี้คงจะได้แบบมาจากอินเดีย เพราะยังมีอิทธิพลของพราหมณ์หลงเหลืออยู่มาก เรายังเคารพนับถือฤาษี         พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ยิ่งเรื่องรามเกียรติ์ ยิ่งถือว่าเป็นเรื่องขลังและศักดิ์สิทธิ์ หนังใหญ่จึงแสดงเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์ เริ่มแรกคงไม่มีจอ คนเชิดหนังใหญ่จึงแสดงท่าทางประกอบการเชิดไปด้วย
 >>  เชื่อกันว่าหนังใหญ่มีอยู่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีหลักฐานอ้างอิงว่า มีนักปราชญ์ผู้หนึ่งเป็นชาวเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์        และทางกวี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเรียกตัวเข้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหาราชครูหรือพระโหราธิบดี

 และมีรับสั่งให้พระมหาราชครูฟื้นฟูการเล่นหนัง(หนังใหญ่)อันเป็นของเก่าแก่ขึ้นใหม่ ดังปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ว่า..
         ไหว้เทพยดาอา- รักษ์ทั่วทิศาดร
         ขอสวัสดิขอพร ลุแก่ใจดั่งใจหวัง
         ทนายผู้คอยความ เร่งตามไต้ส่องเบื้องหลัง
         จงเรืองจำรัสทั้ง ทิศาภาคทุกพาย
         จงแจ้งจำหลักภาพ อันยงยิ่งด้วยลวดลาย
         ให้เห็นแก่ทั้งหลาย ทวยจะดูจงดูดี
         หนังใหญ่ แต่เดิมเรียกว่า "หนัง" นิยมเล่นกันแพร่หลายในแถบภาคกลาง
>> ส่วนหนังตะลุง แต่เดิมคนในท้องถิ่นภาคใต้ก็เรียกสั้นๆว่า "หนัง" เช่นกัน ดังคำกล่าวที่ได้ยินกันบ่อยว่า "ไปแลหนังโนรา" จึงสันนิษฐานว่า คำว่า "หนังตะลุง" คงจะเริ่มใช้เมื่อมีการนำหนังจากภาคใต้ไปแสดงให้เป็นที่รู้จักในภาคกลาง จึงได้เกิดคำ "หนังตะลุง" และ "หนังใหญ่" ขึ้นมาเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน หนังจากภาคใต้เข้าไปเล่นในกรุงเทพฯ ครั้งแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาพัทลุง (เผือก) นำไปเล่นที่แถวนางเลิ้ง หนังที่เข้าไปครั้งนั้นเป็นนายหนังจากจังหวัดพัทลุง คนกรุงเทพฯจึงเรียก "หนังพัทลุง" ต่อมาเสียงเพี้ยนเป็น "หนังตะลุง"
>> เชื่อกันว่า หนังตะลุงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ โดยย่อรูปหนังให้เล็กลง ในยุคแรกๆคงแสดงเรื่องรามเกียรติ์เหมือนกัน แต่เปลี่ยนบทพากย์มาเป็นภาษาท้องถิ่น เปลี่ยนเครื่องดนตรีจาก พิณพาทย์ ตะโพน มาเป็น ทับ กลอง ฉิ่ง โหม่ง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในภาคใต้ หลักฐานที่บอกว่าหนังตะลุงคงเลียนแบบมาจากหนังใหญ่ คือ แม้หนังตะลุงจะไม่ได้ใช้ พิณพาทย์ ตะโพน แต่ในโองการร่ายมนต์พระอิศวร(บทบูชาพระอิศวร) ก็ยังมีบทที่ว่า..

   อดุลโหชันชโนทั้งผอง พิณพาทย์ ตะโพน กลอง  ข้าจะเล่นให้ท่านทั้งหลายดู
>>  ต่อมา หนังภาคใต้หรือหนังตะลุง รับอิทธิพลของหนังชวาเข้ามาผสมผสาน จึงทำให้เกิดวิวัฒนาการใน "รูปหนัง" ขึ้นมา รูปหนังใหญ่จะเป็นแผ่นเดียวกันทั้งตัว เคลื่อนไหวอวัยวะไม่ได้ แต่รูปหนังชวาเคลื่อนไหวมือและปากได้ ส่วนใหญ่รูปหนังจะเคลื่อนไหวมือได้เพียงข้างเดียว ยกเว้นรูปกาก หรือตัวตลก และรูปนางบางตัว ที่สามารถขยับมือได้ทั้งสองข้าง รูปหนังชวามีใบหน้าที่ผิดไปจากคนจริง และหนังตะลุงก็รับแนวคิดนี้มาปรับใช้กับรูปตัวตลก เช่น แกะรูป
หนูนุ้ยให้หน้าคล้ายวัว เท่งหน้าคล้ายนกกระฮัง เป็นต้น
>>  หนังตะลุงเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด นักวิชาการสันนิษฐานว่าคงเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะกลอนหนังตะลุงนิยมแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งในสมัยอยุธยากลอนแปดไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยิ่งในภาคใต้ วรรณกรรมพื้นบ้านรุ่นเก่าแก่ล้วนแต่งเป็นกาพย์ทั้งสิ้น กลอนแปดเพิ่งมาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางก็เมื่อหลังสุนทรภู่แต่งเรื่อง
พระอภัยมณีออกเผยแพร่แล้วนี่เอง
         หนังตะลุงเกิดขึ้นในภาคใต้ครั้งแรกที่จังหวัดใด ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด


  

   2.)ประเภทของตัวหนังตะลุง/ตัวหนังตะลุง




         "รูปหนังตะลุง" เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องหนังที่มีเอกลักษณ์พิเศษของคนไทย สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในศิลปการแสดงหนังตะลุงในภาคใต้ ที่อาศัยรูปเงาในการสื่อสารสร้างสาระและความบันเทิงให้คนดูที่อยู่หน้าจอได้รับความรู้และความเพลิดเพลินตลอดคืน วัสดุที่ทำมาใช้ทำรูปส่วนมากคือหนังวัว ปัจจุบันรูปหนังตะลุงเหล่านี้มิเพียงแต่ใช้ในการแสดงอย่างเดียว แต่ยังกลายเป็นของที่ระลึกยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมาเยือนจังหวัดนครศรีธรรมราช

       
รูปหนังตะลุงแบ่งออกเป็น ประเภท คือ

         1. รูปก่อนเรื่อง เป็นรูปเหมือนจริง คือรูปฤาษี รูปพระอิศวรทรงโค รูปปรายหน้าบท (รูปมนุษย์ผู้ชายแทนตัวนายหนัง) และรูปบอกเรื่องซึ่งจะเป็นตัวตลกตัวใดตัวหนึ่

            2. รูปมนุษย์ (รูปนุด) เป็นรูปพระ รูปนาง รูปเจ้าเมือง รูปมเหสี พระโอรส ธิดานิยมแกะให้เหมือนตัวจริงที่สุด แล้วลงสีสันอย่างสวยงาม เพื่อดึงดูดใจผู้ชมหน้าจอ

             3. รูปยักษ์เป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม การแต่งกายของยักษ์มักเหมือนกันทุกคณะ คือ มีอาวุธ หรือ กระบองประจำตัว รูปเหล่านี้มีอยู่ทุกแผง


            4. รูปกาก เป็นรูปตัวตลก รูปทาสาและทาสีซึ่งไม่มียศศักดิ์สำคัญ แต่รูปกาบางตัวถือว่าเป็นตัวสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้หนังตะลุง บางครั้งจัดให้เป็นรูปสีดำ หรือสีดั้งเดิมของหนังที่นำมาแกะสลัก และไม่ค่อยมีลวดลาย
            ตัวตลก มีความสำคัญในการแสดงหนังตะลุงมาก สามารถตรึงคนดูได้มีความผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านมากกว่าตัวละครอื่นๆ หนังคณะหนึ่งๆ มีตัวตลกไม่น้อยกว่า 10 ตัวขึ้นไป พูดภาษาถิ่นใต้ การแต่งกายมักเปลือยท่อนบน หน้าตาจะผิดเพี้ยนจากคนจริงไปบ้าง แต่ละตัวมีเสียงพูดหรือสำเนียงโดยเฉพาะ


          ตัวตลกเอก นิยมนำหนังตีนของอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ มาทำเป็นริมฝีปากล่าง เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ปิดทองทั้งตัว ขนาดเชือกชักปากทำด้วยทองแบบสร้อยคอก็มี ตัวตลกมีเป็นจำนวนมาก เฉพาะตัวที่สำคัญมีดังนี้

            1.  อ้ายเท่ง เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อเท่ง อยู่บ้านคูขุด อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา หนังจวนบ้านคูขุดนำมาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก หนังคณะอื่นๆ นำไปเลียนแบบ รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ ปากกว้าง หัวเถิก ผมงอหยิก ใบหน้าคล้ายนกกระฮัง นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย นิ้งชี้กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก คาดพุงด้วยผ้าขะม้า ไม่สวมเสื้อ ที่สะเอวเหน็บมีดอ้ายครก (มีดปลายแหลมด้านงอโค้งมีฝัก) ชอบพูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ขู่สำทับผู้อื่น ล้อเลียนเก่ง เป็นคู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย

          2.อ้ายหนูนุ้ย นำเค้ามาจากคนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยานโย้คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นออกไป คล้ายกับปากวัว มีเครายาวคล้ายหนวดแพะ ใครพูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่ไม่มีลวดลาย ไม่สวมเสื้อ ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็นอาวุธ พูดเสียงต่ำสั่นเครือดันขึ้นนาสิก ชอบคล้อยตามคนยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมาเสมอ

               3.นายยอดทอง เชื่อกันว่าเป็นชื่อคนจริงชาวจังหวัดพัทลุง รูปร่างอ้วน ผิวดำ พุงย้อยก้นงอนขึ้นบนผมหยิกเป็นลอน จมูกยื่น ปากบุ๋ม เหมือนปากคนแก่ไม่มีฟัน หน้าเป็นแผลจนลายคล้ายหน้า

        4.นายสีแก้ว เชื่อ กันว่าเอาเค้ามาจากคนที่ชื่อสีแก้วจริงๆ เป็นคนมีตะบะ มือหนักโกรธใครตบด้วยมือหรือชนด้วยศรีษะ เป็นคนพูดจริง ทำจริง สู้คน ชอบอาสาเจ้านายด้วยจริงใจ ตักเตือนผู้อื่นให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามทำนองคลองธรรม รูปร่างอ้วนเตี้ย ผิวคล้ำ มีโหนกคอ ศรีษะล้าน นุ่งผ้าโจงกระเบนลายตาหมากรุก ไม่สวมเสื้อ ไม่ถืออาวุธใดๆ ใครพูดล้อเลียนเกี่ยวกับเรื่องพระ เรื่องร้อน เรื่องจำนวนเงินมากๆ จะโกรธทันที พูดช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ เพื่อนคู่หูคือนายยอดทองสะหม้อ

            5.อ้ายสะหม้อ หนังกั้น ทองหล่อ นำมาจากคนจริง โดยได้รับอนุญาตจากชาวอิสลามชื่อสะหม้อ อยู่บ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนังตะลุงอื่นๆ ที่นำไปเลียนแบบ พูดกินรูปสู้หนังกั้น ทองหล่อไม่ได้ รูปร่างอ้ายสะหม้อ หลังโกง มีโหนกคอ คางย้อย ลงพุง รูปร่างเตี้ย สวมหมวกแขก นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ พูดล้อเลียนผู้อื่นได้เก่ง ค่อนข้างอวดดี นับถือศาสนาอิสลามแต่ชอบกินหมู ชอบดื่มเหล้า พูดสำเนียงเนิบนาบ รัวปลายลิ้น


            6.อ้ายขวัญเมือง ไม่มีประวัติความเป็นมา เป็นตัวตลกเอกของหนังจันทร์แก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช คนในถิ่นนั้น เขาไม่เรียกว่าอ้ายเมือง แต่เรียกว่า ลุงขวัญเมือง” แสดงว่าได้รับการยกย่องจากคนในท้องถิ่นอย่างสูงเหมือนกับเป็นคนสำคัญผู้ หนึ่ง ใบหน้าของขวัญเมืองคล้ายแพะ ผมบางหยิกเล็กน้อย ผิวดำ หัวเถิก จมูกโด่งโตยาว ปากกว้าง พุงยานโย้ ก้นเชิด ปลายนิ้งชี้คล้ายนิ้วมืออ้ายเท่ง นุ่งผ้าพื้นดำ คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ เป็นคนซื่อ บางครั้งแฝงไว้ซึ่งความฉลาด ชอบสงสัยเรื่องของผู้อื่น พูดจาเสียงหวาน หนังจังหวัดสงขลาแสดงคู่กับอ้ายสะหม้อ หนังจังหวัดนครศรีธรรมราชแถวอำเภอเชียรใหญ่ หัวไทร ปากพนัง ท่าศาลา ให้แสดงคู่กับนายยอดทอง หนังพัทลุง ตรัง นิยมให้เป็นตัวบอกเรื่อง เฝ้าประตูเมือง ออกตีฆ้องร้องป่าว


            7.อ้ายโถ เอาเค้ามาจากจีนบ๋าบา ชาวพังบัว อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา รูปร่าง มีศรีษะค่อนข้างเล็ก ตาโตถลน ปากกว้าง ริมฝีปากล่างเม้มเข้าใน ส่วนท้องตึง อกใหญ่เป็นรูปโค้ง สวมหมวกมีกระจุกข้างบน นุ่งกางเกงถลกขา ถือมีดบังตอเป็นอาวุธ ชอบร้องรำทำเพลง ขี้ขลาดตาขาว โกรธใครไม่เป็น ถือเอาเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ ใครจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม อ้ายโถจะชักเรื่องที่พูดวกเข้าหาเรื่องกินเสมอ เป็นตัวตลกประกอบ


            8.ผู้ใหญ่พูน น่าจะเลียนแบบมาจากผู้ใหญ่คนใดคนหนึ่ง รูปร่างสูงใหญ่ จมูกยาวคล้ายตะขอเกี่ยวมะพร้าว ศรีษะล้าน มีผมเป็นกระจุกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางกลวงอยู่ กลางพุงโย้ย้อยยาน ตะโพกใหญ่ขวิดขึ้นบน เพื่อนมักจะล้อเลียนว่า บนหัวติดงวงถังตักน้ำ สันหลังเหมือนเขาพักผ้า (อยู่ระหว่างพัทลุง-ตรัง) นุ่งผ้าโจงกระเบน ไม่มีลวดลาย ชอบยุยง โม้โอ้อวด เห่อยศ ขู่ตะคอผู้อื่นให้เกรงกลัว ธาติแท้เป็นคนขี้ขลาดตาขาว ชอบแสแสร้งปั้นเรื่องฟ้องเจ้านาย ส่วนมากเป็นคนรับใช้อยู่เมืองยักษ์หรือกับฝ่ายโกง พูดช้าๆ หนีบจมูก เป็นตัวตลกประกอบ

          
           9.อ้ายแก้วกบ อ้าย ลูก หมีก็เรียก เป็นตัวตลกเอกของหนังจังหวัดนครศรีธรรมราช รูปร่างอ้วน ปากกว้างคล้ายกบ ชอบสนุกสนาน พูดจากไม่ชัด หัวเราะเก่ง ชอบพูดคำศัพท์ที่ผิดๆ เช่น อาเจียนมะขาม (รากมะขาม) ข้าวหนาว (ข้าวเย็น) ชอบร้องบทกลอน แต่ขาดสัมผัส เพื่อคู่หูคือนายยอดทอง
นอกจากที่นำมาเสนอไว้ ยังมีตัวตลกอีกหลายตัว เช่น ครูฉิม ครูฉุย สิบค้างคูด อีโร้ง อ้ายทองทิง อ้ายบองหลา อ้ายท่าน้ำตก เผียก อ้ายโหนด  เป็นต้น




3.)เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเล่นหนังตะลุง




         
ดนตรีหนังตะลุงในอดีต มีความเรียบง่าย ชาวพื้นบ้านในท้องถิ่นประดิษฐ์ขึ้นได้เอง โดยใช้วัสดุในพื้นบ้าน มีทับ กลอง โหม่ง ฉิ่ง เป็นสำคัญ ปี่ ซอ เกิดขึ้นภายหลังก็คงใช้วัสดุพื้นบ้านอยู่ดี ต่อมาวัฒนธรรมภายนอกโดยเฉพาะดนตรีไทยสากล หนังตะลุงจึงเพิ่มดนตรีใหม่ๆ เข้ามาเสริม เช่น กลองชุด กีตาร์ ไวโอลีน ออร์แกน จำนวนลูกคู่เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ค่าราดเพิ่มขึ้น ยิ่งในปัจจุบันคนยากจนไม่มีทุนรอนพอที่จะรับหนังตะลุงไปแสดงได้เลย
         ดนตรีหนังตะลุง คณะหนึ่งๆ มีดังนี้
 ทับ
         ครื่องกำกับจังหวะและท่วงทำนอง ที่สำคัญที่สุด ผู้บรรเลงดนตรีชิ้นอื่นๆ ต้องคอยฟังจังหวะยักย้ายตามเพลงทับ ที่นิยมใช้มีถึง 12 เพลง คือ เพลงเดิน เพลงถอยหลังเข้าคลอง เพลิงเดินยักษ์ เพลงสามหมู่ เพลงนาดกลายออกจากวัง เพลงนางเดินป่า เพลงสรงน้ำ เพลงเจ้าเมืองออกสั่งการ เพลงชุมพล เพลงยกพล เพลงยักษ์ และเพลงกลับวัง ผู้ชำนาญที่เรียกว่ามือทับเท่านั้นจึงสามารถตีทับครบ 12 เพลงได้ ทับหนังตะลุงมี ใบ ใบหนึ่งเสียงเล็กแหลม เรียกว่า "หน่วยฉับ" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียกว่า "หน่วยเทิง" ทับหน่วยฉับเป็นตัวยืน ทับหน่วยเทิงเป็นตัวเสริม หนังตะลุงในอดีตมีมือทับ คน ไม่น้อยกว่า 60 ปีมาแล้วใช้มือทับเพียงคนเดียว ใช้ผ้าผูกไขว้กัน บางคนวางบนขา บางคนวางขาข้างหนึ่งบนทับ กดไว้ไม่ให้ทับเคลื่อนที่
         โดยทั่วไป ทับนิยมทำด้วยแก่นไม้ขนุน ตบแต่งและกลึงได้ง่าย ตัดไม้ขนุนออกเป็นท่อนๆ ยาวท่อนละประมาณ 60 เซนติเมตร ฟันโกลนด้วยขวานให้เป็นรูปคล้ายกลองยาว นำมาเจาะภายใน และกลึงให้ได้รูปทรงตามต้องการลงน้ำมันชักเงาด้านนอก หุ้มด้วยหนังค่าง ตรงแก้มทับร้อยไขว้ด้วยเชือกด้วยหรือไนลอน ร้อยด้วยหวาย ลอดเข้าในปลอกหวายส่วนหลัง ดึงหวายให้ตึงเสมอกัน ก่อนใช้ทุกครั้ง ต้องชุบน้ำที่หนังหุ้ม ใช้ผ้าขนาดนิ้วก้อยอัดที่แก้มทับด้านใน ทำให้หนังตึงมีเสียงไพเราะกังวาน
โหม่ง
         เป็นเครื่องกำกับการขับบทของนายหนัง โหม่งมี ใบ ร้อยเชือกแขวนไว้ในรางไม้ ห่างกันประมาณ นิ้ว เรียกว่า "รางโหม่ง" ใบที่ใช้ตีเป็นเหล็กมีเสียงแหลมเรียกว่า "หน่วยจี้" อีกใบหนึ่งเสียงทุ้ม เรียกว่า "หน่วยทุ้ม" ในอดีตใช้โหม่งราง โหม่งลูกฟากก็เรียก ทำด้วยเหล็กหนาประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาว 10 นิ้ว กว้าง นิ้ว อัดส่วนกลางให้เป็นปุ่มสำหรับตี ส่วนโหม่งหล่อใช้กันมาประมาณ 60 ปี หล่อด้วยทองสำริดรูปลักษณะเหมือนฆ้องวง การซื้อโหม่งต้องเลือกซื้อที่เข้ากับเสียงของนายหนัง อาจขูดใต้ปุ่มหรือพอกชันอุงด้านใน ให้มีใยเสียงกลมกลืนกับเสียงของนายหนัง ไม้ตีโหม่งใช้อันเดียว ปลายข้างหนึ่งพันด้วยผ้าหรือสวมยาง ทำให้โหม่งมีเสียงนุ่มนวล และสึกหรอน้อยใช้ได้นาน
 ฉิ่ง
         ใช้ตีเข้าจังหวะกับโหม่ง คนตีโหม่งทำหน้าที่ตีฉิ่งไปด้วย กรับเดี๋ยวนี้ไม่ต้องใช้ นำฝาฉิ่งกระแทรกกับรางโหม่งแทนเสียงกรับได้
 กลองตุก
         มีขนาดเล็กกว่ากลองมโนห์รา รูปแบบเหมือนกัน ใช้ไม้ อัน โทนใช้ตีแทนกลองตุกได้
 ปี่
         หนังตะลุงใช้ปี่นอกบรรเลงเพลงต่างๆ ถือเอาเพลงพัดชาเป็นเพลงครู ประกอบด้วยเพลงไทยเดิมอื่นๆ ได้แก่ เพลงสาวสมเด็จ เขมรปี่แก้ว เขมรปากท่อ ชะนีกันแสง พม่ารำขวาน พม่าแทงกบ สุดสงวน เขมรพวง ลาวดวงเดือน เพลงลูกทุ่งหลายเพลงอาศัยทำนองเพลงไทยเดิม คนเป่าปี่ก็เล่นได้ดี แม้เพลงไทยสากลที่กำลังฮิต ปี่ ซอ ก็เล่นได้ โดยไม่รู้ตัวโน๊ตเลย ซออู้ ซอด้วง ประกอบปี่ ทำให้เสียงปี่มิเล็กแหลมเกินไป ชวนฟังยิ่งขึ้น ปี่ ซอ สามารถยักย้ายจังหวะให้ช้าลงหรือเร็วขึ้นตามจังหวะทับได้อย่างกลมกลืนและลงตัว

 การบรรเลงดนตรีหนังตะลุง
         แบ่งออกเป็น ลักษณะ คือ
         1. บรรเลงดนตรีล้วน เช่น ยกเครื่อง ตั้งเครื่อง ลงโรง
         2. บรรเลงเพลงประกอบการรับบท ขึ้นบท ถอนบท เลยบท เชิด บรรเลงประกอบการขับกลอนแปด กลอนคำกลอน กลอนลอดโหม่ง ประกอบการบรรยาย อิริยาบทของตัวละครและบรรเลงประกอบบทบาทเฉพาะอย่าง เช่น บทโศก ลักพา ร่ายมนต์


                                         4)โรงหนังตะลุง

   โรงหนังตะลุง มีรูปร่างสี่เหลี่ยม ปลูกสูงจากพื้นดินประมาณ ฟุต ด้านหน้ากว้างประมาณ 12 ฟุต และสูงประมาณ ฟุต มีจอขึงอยู่เต็มหน้าด้วยผ้าขาว ริมขลิบไว้ด้วยผ้าสีแดง พื้นโรงปูด้วยไม้กระดาน คนเชิดและนักดนตรี คนจัดตัวหนังต้องอยู่บนโรงนี้ทุกคน





                        5) โอกาสที่เล่นหนังตะลุง


โอกาสที่หนังตะลุงจะแสดง คือ งานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลอง ส่วนงานมงคลนั้นแต่เดิมจะไม่นิยม เพราะเชื่อว่าทำให้ไม่เป็นมงคลแก่เจ้าของงาน แต่ปัจจุบันจะไม่เคร่งครัดนัก สำหรับงานศพ ถ้าเป็นงานศพสดจะไม่นิยม เพราะเจ้าของงานกำลังอยู่ในอารมณ์เศร้า ไม่ต้องการมหรสพ แต่ถ้าเป็นงานศพกระดูกก็มีในบางท้องถิ่นเท่านั้นที่นิยมกัน คณะหนังที่จะเล่นในงานศพมักเป็นหนังที่มีเคล็ดลับ เวทมนตร์คาถาเพื่อกันจัญไรให้แก่ตน ในปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าการแสดงหนังตะลุงมักจะอยู่ในรูปการจัดการหารายได้เป็นส่วนใหญ่ อาจจะหารายได้บำรุงวัดหรือไม่ก็เป็นธุรกิจการค้าไปก็มี

         การแสดงหนังตะลุงจะแสดงเพียงครึ่งคืน หรือตลอดคืน มักเริ่มแสดงในเวลาประมาณ 20.30 - 21.30 น. ถ้าแสดงตลอดคืนจะมีการพักตอนเที่ยงคืน ไม่เกิน ชั่วโมง

         การแสดงหนังตะลุงกลางวันก็มีบ้าง แต่เป็นการแสดงเฉพาะงานแก้บน ซึ่งจะแสดงในตอนเช้าประมาณ นาฬิกา ถึง นาฬิกา หรือตอนเย็นๆ ใกล้พลบค่ำ

         การคิดค่าจ้างหนังตะลุงนั้นขึ้นอยู่กับความมีชื่อเสียงของคณะหนังตะลุง ตั้งแต่คืนละ 400 บาท ถึง 1,200 บาท ถ้าเป็นโรงแข่งก็แพงกว่าเล็กน้อย แต่บางโรงถ้าเป็นคณะที่มีชื่อเสียงราคาค่าจ้างอาจจะเป็นคืนละหมื่นๆ บาท


  

6)นายหนังตะลุงที่ชื่นชอบ

สุชาติ ทรัพย์สิน

ประวัติ


                        สุชาติ ทรัพย์สิน เป็นนายหนังตะลุงและช่างแกะสลักฝีมือดีคนหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช เกิดเมื่อวันที่ กรกฎาคม พ.ศ.2481 ที่ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา ขณะที่สุชาติเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ที่โรงเรียนวัดสระแก้ว ทางวัดได้จ้างนายด่วน ช่างจากกรุงเทพฯ มาทำพระประธาน สุชาติได้ไปเฝ้าดูด้วยความสนใจ เมื่อนายด่วนมีเวลาว่างจึงสอนให้หัดเขียนลายไทย จุดนี้เองที่ได้วิชาเพราะความรักงานศิลปะขึ้นในจิตใจของสุชาติ

การศึกษา

         ครั้นเขาเรียนจบชั้นประถมปีที่ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์นายทอง หนูขาว ช่างแกะสลักหนังชาวตำบลสระแก้วนายทองผู้นี้เป็นช่างฝีมือดี ได้แกะรูปหนังตะลุงให้กับนายเอี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นหนังดีคณะหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น นอกจากนายทองจะมีฝีมือในการแกะสลัก หนังแล้วยังมีความสามารถทางด้านกาพย์กลอนด้วย สุชาติจึงได้เรียนวิชาแกะหนังและหัดว่ากาพย์กลอนไปพร้อม ๆ กัน ครั้นเรียนแกะหนังจนสามารถร่างแบบและแกะได้แล้วจึงออกไปแกะรูปหนังตะลุงด้วยกระดาษถุงปูนซิเมนต์จำหน่ายตามงานเทศกาลและตลาดนัดต่าง ๆ พออายุได้ราว 14 ปี เกิดความละอายที่เที่ยวขายรูปกระดาษจึงหันมารับทำเมรุ ทำเบญจาและทำโลงศพ

                    ซึ่งก็ใช้วิชาแกะสลักเช่นเดียวกัน บางครั้งเมื่อไปรับจ้างทำงานเหล่านี้ ตกกลางคืนมีผู้ชักชวนให้เล่นหนังตะลุงก็เล่นเพื่อเป้าหมายหลักเพื่อความสนุกสนาน มิได้มีสินจ้างรางวัลแต่อย่างใด หลังจากนั้นสุชาติได้รับงานใหม่แล้วเปลี่ยนอยู่หลายงาน ได้แก่ เป็นช่างซ่อมรถจักรยาน เป็นช่างรับจ้างถ่ายรูปโดยเดินไปถ่ายถึงหมู่บ้าน และทำสวนอยู่ ปี ในที่สุดก็เบื่อหน่ายจึงได้ออกจากบ้านโดยมิได้บอกกล่าวผู้ใด


การทำงาน และผลงานต่าง ๆ

         อยู่จังหวัดกระบี่ได้มอบตัวเป็นศิษย์ของหนังกราย และเริ่มจับงานเล่นหนังตะลุงอย่างจริงจัง ได้เที่ยวเล่นไปในหลายจังหวัดในภาคใต้ ระยะแรกที่เล่นหนังตะลุงใช้ชื่อว่า หนังสุชาติ ฉลามดำต่อมา พ.ศ.2506 เขาชนะประกวดกลอนทางวิทยุ มทบ.ค่ายวชิราวุธ นครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนชื่อคณะเป็น หนังสุชาติ กลอนงาม” ได้ประชันกับหนังที่มีชื่อเสียงหลายคณะ เช่น หนังประทิ่น บัวทอง หนังเคล้าน้อย และหนังจูเลี่ยม เป็นต้น ทั้งยังยอมรับจ้างว่ากลอนโฆษณาขายสินค้าทางสถานีวิทยุให้แก่บริษัทห้างร้านหลายแห่ง
        ในช่วงที่สุชาติเริ่มมีชื่อเสียงในการเล่นหนังตะลุง เขาได้กลับมาอยู่บ้านเดิมที่สระแก้ว หลังจากแต่งงานเมื่อายุ 29 ปี ได้แยกครอบครัวมา ตั้งบ้านเรือนหลังวัดสระเรียง ในเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช และที่นี่เองสุชาติเริ่มงานแกะรูปหนังตะลุงอย่างจริงจัง รูปที่แกะส่วนใหญ่เป็นรูปที่ใช้ประดับฝาผนังอาคารบ้านเรือน ซึ่งมีรูปแบบต่างไปจากรูปหนังตะลุงที่ใช้ในการแสดง ด้วยฝีมืออันปราณีต ทำให้ผลงานของเขาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจนไม่สามารถผลิตตามลำพังของตนเองได้ทัน สุชาติจึงคิดรวมช่างแกะหนังในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุงขึ้น โดยเขาเป็นผู้กำหนดแบบและให้ช่างแกะและระบายสี สำหรับแบบ เนื่องจากต้องการทำเหมือนกันเขาจึงนำเอาแบบพิมพ์เขียวมาใช้


           ซึ่งแต่เดิมการแกะหนังจะจารด้วยเหล็กแหลมลงไปบนพื้นหนัง เป็นเฉพาะรูปเฉพาะชิ้นงานเท่านั้นในการจำหน่ายผลงานทั้งหมดในระยะแรก ๆ สุชาติไม่ได้ทำด้วยตนเอง แต่มีผู้เดินตลาดเฉพาะชื่อ นายเจริญ วิริยทูรจากระบบ
        การผลิตและจำหน่ายเช่นนี้จึงทำให้กิจการของเขาคล่องตัวมาก ในปี พ.ศ.2511 เขาได้ส่งผลิตภัณฑ์ให้บริษัทอุตสาหกรรมไทยในครัวเรือน (กรุงเทพฯ) เป็นผู้จำหน่าย และยังผูกพันกันมาจนบัดนี้
        แม้สุชาติจะทำหัตถกรรมแกะรูปหนังเป็นแบบพาณิชย์แต่เขาคำนึงถึงคุณค่าทางศิลปะวัฒนธรรมเป็นพิเศษ ผลงานของเขาจึงมีราคาสูงกว่ารูปหนังที่จำหน่ายอยู่ในภาคใต้โดยทั่วไป และข้อสำคัญเขามิได้วางจำหน่ายในส่วนภูมิภาค สิ่งที่จะประกันมือของเขาอย่างหนึ่งคือ ผลการตัดสินของคณะกรรมการประกวดรูปหนังซึ่งให้เขาได้รับรางวัลที่ 1-3 จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหลายปีติดต่อกัน (ประกวดที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช) จนระยะหลังเขาได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดซึ่งหมายถึงว่าเขาหมดสิทธิ์ในการส่งผลงานเข้าประกวดโดยปริยาย
        สำหรับผลงานที่เขาภูมิใจมากที่สุดเป็นงานที่ชนะการประกวดชิ้นแรก ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช งานดังกล่าวเป็นรูปช้างเอราวัณหลังจากชนะการประกวดแล้ว เขาได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ขอบใจนะที่รักษาของเก่าไว้ให้ อย่าหวงวิชา
        สุชาติมีความรู้เกี่ยวกับการแกะหนังและเรื่องหนังตะลุงเป็นอย่างดี ทั้งเป็นคนที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ความคิดและมี
        มนุษยสัมพันธ์ดี มีจิตใจกว้างขวาง ชอบช่วยเหลืองานสาธารณะ จึงได้รับเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น งานกองส่งเสริมหัตถกรรมและสมาคมนักออกแบบแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เป็นต้น โดนเฉพาะงานศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชนั้น

              สุชาติได้ฝากฝีมือที่เขาภูมิใจอีกชิ้นหนึ่งคือ การจัดแสดงลักษณะและประวัติของรูปหนังตะลุงทั้งหมดไว้ในอาคารศูนย์วัฒนธรรมของวิทยาลัยครู ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้า เยี่ยมชมศูนย์ฯ เป็นอย่างมาก
              ผลงานของสุชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้เขามีชื่อเสียง มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น แต่ยังทำให้ต่างชาติปราถนาจะได้ตัวเขาไปถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการแกะหนังให้แก่ชาติของเขาด้วยดังปรากฏว่าในปี พ.ศ.2523 ได้มีฝรั่งชาติเยอรมนีมาติดต่อว่าจ้างให้เขาไปสอนการแกะหนังที่เยอรมนี โดยเสนอค่าจ้างปีละ 1,500,00 บาท จ้างเป็นเวลา ปี เมื่อเขาได้รับข้อเสนอจึงตอบว่า งานแกะหนังเป็นสมบัติของชาติ ถ้าต้องการตัวเขาให้ติดต่อกับรัฐบาลซึ่งผลปรากฏว่าผู้ที่มาติดต่อได้เงียบหายไป


เกียรติคุณที่ได้รับ

         สุชาติ ทรัพย์สิน ได้รับรางวัลชีวิตหลายสิ่งหลายอย่างทั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพฯ ตลอดจนหน่วยราชการ สถาบัน และบุคคลต่าง ๆ มากมายเช่น ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาทัศนศิลป์ของ สวช. (การแกะหนัง) ได้รับรางวัลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหลายครั้ง ได้เป็นกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์สาขาวัฒนธรรมศึกษา ของสถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช เป็นกรรมการที่ปรึกษาการซ่อมแซมหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี ตามพระดำริของสมเด็จพระเทพฯ
                สุชาติ ทรัพย์สิน ได้ทำงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเขาคือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ประดิษฐ์และแกะหนังใหญ่เรื่องพระมหาชนกรวม 45 ภาพ